บทความ

3 แบบสกรีน เรียนรู้แบบและกระบวนการ ก่อนเลือกส่งงานให้รับสกรีน

23 Feb 2018
แชร์ :




เสื้อผ้านับเป็นปัจจัย 1 ใน 4 ที่มนุษย์ทุกคนต้องการ จึงไม่น่าแปลกว่า ธุรกิจเสื้อผ้า มีการเติบโตทุกปี  มีทั้งผู้ประกอบการเก่า และหน้าใหม่  เข้ามามากมาย สินค้ามีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ปี งานรับสกรีนเสื้อจึงเป็นอีกธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อธุรกิจใหญ่ ๆ ต้องการแสดงถึงเอกลักษณ์ของธุรกิจผ่านเสื้อสกรีน งานไอเดียหรือการออกแบบที่โดดเด่นจึงช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้ารู้จัก และบอกต่อธุรกิจของเขาแบบปากต่อปาก ต่อ ๆ ไปได้

งานสกรีนเสื้อ คือการทำลวดลายบนตัวเสื้อ ซึ่งหากไอเดียดี ประกอบกับการเลือกแบบสกรีนที่เหมาะสม แหล่งรับสกรีนที่มีคุณภาพสูง ย่อมทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นขึ้นมาได้ อย่างแน่นอน  และก่อนที่จะส่งงานให้รับสกรีนกัน เราควรเรียนรู้แบบและระบบการสกรีนเบื้องต้นไว้ เพื่อให้งานออกมาได้ตรงตามต้องการนั่นเอง

ระบบงานสกรีน แบ่งเป็น 3 ระบบตามชื่อทางการตลาดที่เรียกกัน ดังนี้

  • สกรีนระบบบล็อกสกรีน ( Silk screen )  คือ เป็นงานสกรีนแบบโบราณ แต่ยังคงเป็นที่นิยมอยู่มาจนถึงปัจจุบัน มีกระบวนการคือ ทำให้บล็อกสกรีนมีลวดลาย แล้วนำสีมาพิมพ์ผ่านลวดลายลงบนเสื้อ ก็จะได้เสื้อสกรีนตามแบบที่วางไว้ 
  • สกรีนระบบรีดร้อน ( Heat transfer ) หรือที่เรียกกันว่า  สกรีนดิจิตอล หลักการสกรีนระบบนี้คือการใช้เครื่องพิมพ์ Ink Jet เครื่องพิมพ์บรรจุน้ำหมึก Sublimation ซึ่งเป็นหมึกที่สามารถพิมพ์ติดบนพลาสติกได้  และ น้ำหมึก Pigment สำหรับสกรีนบนกระดาษ Heat Tranfer  แยกย่อยได้ 2 แบบ
    1. งานรับสกรีนแบบ Sublimationวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด  กระบวนการสกรีนเริ่มโดยการสั่งงานพิมพ์ลงบนกระดาษ Sublimation จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ลายสกรีนไปวางบนเสื้อแล้วรีดด้วยเตารีด หรือเครื่องรีดร้อน ซึ่งเสื้อที่นำมาสกรีนด้วยวิธีนี้ควรมีเนื้อผ้าที่ผลิตจาก Polyesterเพราะหากนำไปสกรีนลงบนผ้า Cotton อาจได้ลายสกรีนไม่ชัดเจนเมื่อนำไปซักลายสกรีนจะค่อยๆ หลุดออกและสกรีนบนเสื้อสีเข้มไม่ได้
    2. งานรับสกรีนรีดร้อน คือการทำให้สีติดโดยใช้การแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งยังมีการแยกย่อยอีกหลายกระบวนการ แต่ที่นิยมในไทยคือการพิมพ์ลงบนกระดาษที่มีกาวเคลือบไว้ด้านหลัง ก่อนนำไปรีดบนผ้าต้องแกะกาวออกก่อนเหมือนแกะสติกเกอร์ เมื่อนำไปรีดร้อนกาวที่เคลือบกระดาษนั้นจะติดกับเสื้อเหมือนกับเฟล็กติดเสื้อฟุตบอล แบบนี้จะสามารถสกรีนบนเสื้อเข้มและเสื้อ Cotton ได้ แต่ภาพที่ได้จะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม และเสื้อสกรีนแบบนี้จะร้อนและหนักเหมือนมีกระดาษหนา ๆ มาแปะบนเสื้อ
  • สกรีนโดยตรง DTG ( Direct to garment ) เป็นกระบวนการใหม่ในการนำเอาหมึก Pigment มาสกรีนลงบนเสื้อโดยตรง ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะ หลักการทำงาน คือ นำเสื้อวางบนแทนพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์ จากนั้นนำไปอบสีให้แห้ง เป็นกระบวนการสกรีนเสื้อที่ให้ภาพออกมาดีที่สุดแล้วในปัจจุบัน โดยสามารถพิมพ์บนผ้า Cotton ทั้งผ้าสีเข้มหรือดำได้ภาพที่คมชัด ภาพสวย

การเรียนรู้แบบและกระบวนการสกรีนเบื้องต้น ก่อนเลือกส่งงานให้ผู้รับสกรีนทำนั้น ถือว่าสำคัญมากเพื่อให้ได้งานสกรีนที่ตรงกับความต้องการ ในต้นทุนที่ต่ำ ได้งานที่ดีตรงความต้องการได้


บทความล่าสุด

Sew-InStyle
@mio6993g
Call : 082-198-9929
Fax : 02-949-4806
anupan@powertechthailand.com













Contact Us

HotLine: 082-198-9929/085-130-0779
Line : @mio6993g (ใส่@นำหน้า)
anupan@powertechthailand.com

Follow Us



Copyright © 2018 All Rights Reserved. Designed By Golly-design